พ.ศ.2347 กองทัพสยาม
และ กองทัพล้านนาเชียงใหม่ ไปตีเมืองเชียงแสน
ได้จากพม่า จับเชลยได้เป็นอันมาก แล้วทำลายเชียงแสน
ทิ้งร้างไว้มิให้พม่าได้เข้ามาตั้งมั่นได้อีกต่อไป ก็น่าจะมีเหตุการณ์เช่นเดียวกันเกิดขึ้น
หรือ อาจจะถูกทิ้งร้างไปก่อนหน้านี้แล้ว
ก็เป็นได้เพราะเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือ ของ ล้านนา
เช่นเดียวกับเชียงแสนด้วยเหตุผลดังกล่าว ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ.2347
เป็นต้นมา และคงจะเป็นป่ารกชัฏ และจะมีผู้คนอยู่บ้าง
ก็คงจะเป็นไพร่บ้านพลเมืองที่อัตคัตขาดแคลน
ขัดสน ไร้ปัญญาจะตั้ง เป็นบ้านเมืองขึ้นใหม่
เพราะมิใช่เชื้อเจ้าเมือง และอาศัยอยู่ตามป่าลึก
เป็นหมู่เหล่าแบบหมู่บ้านชาวป่า
ไม่มีลักษณะเป็นบ้านเมือง
จนกระทั่งประมาณปี พ.ศ.2424
ซึ่งตรงกับรัชกาลของ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นเวลาร่วมร้อยปีโดยประมาณ
เจ้าผู้ครองนคนเชียงใหม่เวลานั้น
คือ พระเจ้ากาวิโลรส
ก็ให้คนสนิทสองคน ไปตั้งเมืองฝาง
เพราะมี เชื้อพระวงศ์เจ้านครเชียงใหม่
ขึ้นไปล่าสัตว์ในป่าใหญ่ ไกลจากนครเชียงใหม่
โดยอาศัยช้างเป็นพาหนะ
ได้ไปพบซากเมืองเก่าซากวัดร้าง
และ พระพุทธรูปสวยงามมากมาย
ก็กลับไปทูลเจ้านครเชียงใหม่ให้ทรงทราบ
จึงได้สอดตำนานดู ก็ทราบว่าเป็นเมืองฝาง
จึงให้คนสนิททั้งสองพาไพร่พล ไปแผ้วถางที่ทาง
ตั้งเมืองขึ้นใหม่ โดยตั้งให้คนสนิททั้งสอง
เป็นพระยาหลวง หรือพระยาสุริโยยส คนหนึ่ง
อีกคนหนึ่งเป็นพระยาน้อย พระยาทั้งสอง
ปกครองเมืองฝางได้ประมาณ 10 ปีเศษ
ก็กลับเชียงใหม่ เพราะอายุชรามาก
จยทนต่ออากาศหนาว และ ไข้ป่า
สัตว์ร้ายรบกวนไม่ไหว
พระเจ้ากาวิโลรส จึงได้ให้ เจ้ามหาวงษ์แม่ริม
ภรรยาชื่อเจ้าแม่กัลยา เป็นเจ้าหลวงเมืองฝาง
เจ้าหลวงเมืองฝางคนนี้ พร้อมด้วยคนสนิท
ประมาณ 25 ครอบครัว
เดินทางมาอยู่เมืองฝาง
ร่วมกับไพร่บ้านพลเมืองที่มาคราวก่อน
คนสนิทที่ติดตามมากับเจ้าหลวงเมืองฝางคนนี้
ได้แก่
พระยาพิทักษ์ ท้าวธนู และ มีพระสงฆ์มาด้วย
เพื่อเป็น เจ้าคณะสงฆ์ คือ พระเกษรปรมติกาจารย์
และ พระสงฆ์อีกหลายรูป
ต่อมา เจ้าหลวงมหาวงษ์ ก็ได้รับพระราชทาน
บรรดาศักด์จากกรุงเทพฯ
ให้เป็นมหาอำมาตย์เอก พระยาราชวงศ์
เจ้าแก้วมุงเมืองเป็นรองอำมาตย์เอก พระยาราชบุตร
ให้สังกัดกระทรวงมหาดไทย
เรื่องพระเจ้ากาวิโลรส ให้คนสนิท 2 คน
คือพระยาหลวงและพระยาน้อย
พาไพร่พล 300 ครัวเรือนเศษ ไปตั้งเมืองฝางนั้น
เป็นเหตุการณ์ ที่พ้องกับบันทึกหมายเหตุ
ของฝรั่งชาวเดนมาร์ค ชื่อ มร.คาร์ล บ๊อก
นักโบราณคดี ได้เดินทางมาจากกรุงสยาม
สมัยรัชกาลที่ 5 กรุงรัตนโกสินทร์
และ ได้เดินทางขึ้นไปสำรวจโบราณสถาน
โบราณวัตถุ ตลอดจนพวกสัตว์ป่า และ นก แมลงต่างๆ
ในป่าภาคเหนือของประเทศไทย
โดยได้รับพระบรมราชานุญาต
จากพระเจ้าอยู่หัวทาง สยาม
ในครั้งนั้น มร. คาร์ลบ๊อก ซึ่งเดินทางมาพัก
ได้เดินทางจากเชียงใหม่ เพื่อจะไปฝาง
เดินทางโดยข้ามลำน้ำแม่ปิง มุ่งหน้าสู่ทางตะวันออก
ไปสู่อำเภอสันทราย แล้วเลี้ยวทิศทางมุ่งสู่
ด้านตะวันตกเฉียงเหนือ จนเข้าสู่เจตเมืองพร้าว
ต่อจากนั้นก็เดินทางมุ่งหน้าสู่
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไปเรื่อยๆ
การเดินทางจากเชียงใหม่ถึงฝางครั้งนั้น
อาศัยช้างเป็นพาหนะ และ บรรทุกสัมภาระ
เขาเดินทางข้ามห้วยเขาป่าลึก
ผ่านอากาศหนาวเย็นเยือก ป่าที่รกชัฏ
ไม่เห็นแสงตะวันในบางแห่ง ต้องผจญกับสัตว์ร้าย
หลายครั้ง จนกระทั่งข้ามลำน้ำแม่งัด
ข้ามลำนำฝางเข้าสู่เขตเมืองฝาง
(ซึ่งทางเดินสายนี้ ปัจจุบันปากทาง
มาออกตรงหน้าวัดบ้านท่า ต.ปงตำ อ.ฝาง )
ต้องเดินทางผ่านบ้านแม่ทะลบ
แต่ก่อนเรียกแคว้นแม่ทะลบ ทางสายนี้
ขณะนี้ก็ยังมีคนใช้เดินไป อ.พร้าวอยู่
เขาบันทึกเหตุการณ์เดินทางของเขาไว้ดังนี้
บีนทึกตอนหนึ่งเล่าว่า
“วันรุ่งขึ้น ต้องผ่านไปในทุ่งหญ้าทั้งวัน
จน 5 โมงเย็น จึงถึงซากประตูเมืองฝาง
ซึ่งเหลือแต่ชื่อเท่านั่น เมืองนี้เคยเป็นเมือง
ใหญ่โตในภาคเหนือมาก่อน
แต่เดี๋ยวนี้เหลือแต่ซากสลักหักพัง
กำแพงที่พังทรุดโทรม มีซากวัด
และ เจดีย์อยู่บางแห่ง สถานที่อื่นๆ
ก็จมดินอยู่ใต้กอ หญ้าในป่าทึบหรือชายป่า
พลเมืองที่อยู่กับข้าพเจ้าไปถึง พึ่งจะมาตั้งถิ่นฐาน
กันอยู่ใหม่ราว 12 เดือนเท่านั้นเอง ทั้งชาย หญิง
และเด็กกำลังตั้งหน้าตั้งตา ถางป่ากันอยู่
ไม่มีบ้านเรือนเลย มีแต่กระท่อม หรือ เพิงพักชั่วคราว
ถนนหนทาง ก็ยังไม่มีเช่นเดียวกัน
” การเดินทาง ของ มร..มาร์คบ๊อก ครั้งนั้น ใช้ช้าง
เขาได้พบกับพ่อค้าวัวต่าง ลาต่าง มากมายหลายพวก
หลายหมู่ หมู่หนึ่งประมาณ 50 – 70 คน
หรือร่วมร้อยคน เป็นอย่างต่ำ มีทั้งชาย หญิง เด็ก
ส่วนมากเป็นชาวเงี้ยวมาจาก
เมืองสาด เมืองนาย และ เชียงแสน
มร.มาร์คบ๊อก ก็ได้เดินทางไปถึงท่าตอน
เชียงแสน และ กล่าวว่า ขณะนั้น บ้านท่าตอน
มีชาวเงี้ยวอยู่ประมาณ 7 หลังคาเรือนเท่านั้น