แชร์

พระพุทธรูป ศิลปะแบบล้านนา

พระพุทธรูปสมัย ล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓)

พระพุทธรูปในสมัยล้านนามีวิวัฒนาการอยู่ ๒ สาย

สายแรก แสดงอิทธิพลของศิลปะปาละ ผ่านมาทางอาณาจักรพุกามของพม่า เป็นกลุ่มพระพุทธรูปที่เรียกว่าแบบ “เชียง แสน สิงห์หนึ่ง” มีลักษณะที่สำคัญคือ ขัดสมาธิเพชร พระพักตร์กลม พระโอษฐ์ยิ้ม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีเป็นดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน

สายที่ ๒ แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ที่นิยมเรียกว่า แบบ “เชียง แสนสิงห์สอง” มีลักษณะที่สำคัญคือ ประทับนั่งขัดสมาธิราบ พระพักตร์รูปไข่ พระวรกายเพรียวบาง พระ อังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก หน้าตักกว้าง พระขนงโก่ง พระโอษฐ์ยิ้ม ริมฝีพระโอษฐ์เป็นคลื่นเหมือนสมัยสุโขทัย พระรัศมีเป็นเปลว ขมวดพระเกศาเล็ก สังฆาฏิเป็นแผ่นเล็กยาวลงมาจรดพระนาภี

จากการศึกษาพระพุทธรูปสมัยล้านนา แสดงให้เห็นว่า วิวัฒนาการของพระพุทธรูปทั้ง ๒ สายนั้น เกิดขึ้น และมีการสร้างอย่างต่อเนื่องไปจนสิ้นอาณาจักรล้านนา โดยสายแรกเกิดขึ้นในระยะแรกของล้านนาตั้งแต่ต้น พุทธศตวรรษที่ ๑๙ และได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และช่วงต้น พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในกลุ่มที่มีจารึกที่ฐาน พระพุทธรูป

สายที่ ๒ นั้น เกิดขึ้นหลังจากล้านนาได้รับอิทธิพลสุโขทัยในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และนิยมสร้างอย่างมากในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ โดยส่วนหนึ่งได้มีวิวัฒนาการไปเป็นรูปแบบเฉพาะของตัวเองอย่างมาก

นอกเหนือจากวิวัฒนาการของ ๒ สาย ดังกล่าว ยังมีอิทธิพลของศิลปะแบบอู่ทองปรากฏในล้านนา ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ด้วย ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูปแข้งคม มีต้นแบบคือ พระเจ้าแข้งคม ที่วัดศรีเกิด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพระเจ้าติโลกราช (กษัตริย์ล้านนา พ.ศ. ๑๙๘๕ – ๒๐๓๑) โปรดให้หล่อขึ้น

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะแบบอู่ทอง รุ่นที่ ๓ ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙
จัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แบบ อู่ทอง (พุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๙)

แบบอู่ทองเป็นชื่อเรียกศิลปะที่เกิดขึ้น ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทย แถบเมืองลพบุรี และสุพรรณบุรี ในช่วงก่อนการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ที่เรียกว่า “อู่ ทอง” นั้น เพราะเข้าใจว่า เป็นเมืองของพระเจ้าอู่ทอง ก่อนที่จะทรงย้ายราชธานีมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา แต่จากหลักฐานทางโบราณคดี ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมืองอู่ทองเป็นเมืองสมัยทวารวดีที่ร้างไปแล้วตั้งแต่ก่อนสร้างกรุง ศรีอยุธยาประมาณ ๓๐๐ ปี อย่างไรก็ตาม ได้พบ หลักฐานทางศิลปกรรมบริเวณภาคกลางของประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๙ ที่มีอิทธิพลของศิลปะทวารวดีและศิลปะขอมปะปนอยู่ นักวิชาการจึงอนุโลมเรียกศิลปะนี้ว่า “แบบ อู่ทอง” โดยเป็นที่เข้าใจกันทั่วไป แล้วว่า หมายถึงศิลปะในภาคกลางที่เกิดขึ้น ก่อนสมัยอยุธยา

Loading

Scroll to Top